วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 23, 2556

บทที่ 13



1.จงยกตัวอย่างซอร์ฟแวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ

Totally reflecting everything


Refractometersเครื่อง refractometer แบบดิจิตอลวัดค่าดัชนีการหักเห และค่าอื่นๆ (เช่น ค่าBrix,HFCS,ค่าความเข้มข้น) ด้วยความแม่นยำสูง และรวดเร็วในการวัด
เครื่อง refractometer ของ เมทเลอร์ โทเลโด ไม่ต้องมีค่าบำรุงรักษาทั้งในส่วนของแหล่งกำเนิดแสง (LED light source)และ sapphire prism
หลักการในการวัด:
ด้วยความละเอียดสูงของ optical sensor ซึ่งจะทำการวัดค่าสะท้อนกลับหมดของแหล่งกำเนิดแสง ที่มาจาก LED light หลังจากแสงทำการกระทบกับตัวอย่าง จากแสงที่สะท้อนกลับนี้สามารถแปลงเป็นค่าต่างๆเช่น Brix,HFCS หรือค่าความเข้มข้นต่างๆ ด้วยหลักการนี้สามารถวัดตัวอย่างที่มืดทึบได้และในส่วนของตัวเครื่องสามารถควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างโดยไม่ต้องใช้ water bath

2.จงบอกวัตถุประสงค์การใช้ซอร์ฟแวร์คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมคุณภาพ

*  เครื่อง refractometer ออกแบบมาเพื่อวัดค่าสะท้อนกลับของแสง
*  เครื่อง r efractometer  สามารถควบคุมอุณหภูมิ  
*  สามารถวัดค่าดัชนีการหักเห 
*  สามารถแลงต่างๆได้ 



3. การตรวจเช็คโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง   หาข้อมูลทั้งภาพประกอบ ลงในบล็อกเกอร์ของท่าน

1. อุปกรณ์หัววัด   (senser)






2.  การตรวจเช็คแบบไม่สัมผัส
 
2.1  ใช้เทคนิคทางแสง
2.2   ไม่ใช้แสง  









 










SCADA


ระบบ SCADA
SCADA ย่อมาจากคำว่า Supervisory Control And Data Acquisition หมายถึง “ระบบ” ที่มีการ
-         รวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆ (Collection of information)
-         ส่งไปที่ศูนย์ควบคุม (Transferring data to a central site)
-         วิเคราะห์และประมวลผล (Analyze for data processing) ซึ่งหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์หรือ PLC (Programmable Logic Control) มาช่วย
-         ส่งผลไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในระบบได้ (Control)
-         แสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ (Monitor)
SCADA หมายถึง “ระบบควบคุมและประมวลผลแบบศูนย์รวม” จากคำจำกัดความดังกล่าวจึงเห็นว่า SCADA ต้องประกอบด้วย
1.       มีศูนย์กลาง (Master Station) และสถานีลูกข่าย (Slave Station) หลายๆแห่ง
2.       รับส่งข้อมูลและประเมินผล (Data Processing) ด้วยระบบดิจิตอลผ่านคอมพิวเตอร์
3.       รับข้อมูลและสั่งผ่านระบบ PLC เพื่อให้สั่งการทำงานอัตโนมัติแบบโปรแกรมล่วงหน้าได้
4.       การติดต่อระหว่างเครือข่ายอาจใช้ระบบสายหรือไร้สาย (เช่นวิทยุ) ก็ได้
5.       มีจอแสดงผลโต๊ะควบคุม (Control Desk) และแผงไฟแสดงการทำงาน (Mimic Panel)
การสร้างเครือข่ายการควบคุม
ดังที่กล่าวมา SCADA คือโครงร่าง (Configuration) ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ PLC ต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่าย (Network) เพื่อรายงานข้อมูล (Data) มายังศูนย์กลาง และรับคำสั่งจากศูนย์ไปปฏิบัติที่หน้างาน ณ จุดต่างๆ เนื่องจาก SCADA จะกินความหมายถึงจุดปฏิบัติงานหลายๆจุด และมีการส่งสัญญาณระยะไกลๆ จึงต้องมีโมเด็ม และหรืออินพุต-เอาต์พุตระยะไกล (Remote I/O) เข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญด้วย โครงร่างของระบบ SCADAมีได้สองแบบใหญ่ คือ
1.       แบบสถานีแม่กับสถานีแม่ (Peer to Peer)
2.       แบบสถานีแม่กับสถานีลูก (Master to Slave)
สถานีแม่ (Master Station) ตัวสถานีแม่จะประกอบด้วย
1.       PLC พร้อมหน่วยอินพุตเอาต์พุต
2.       คอมพิวเตอร์
3.       โต๊ะควบคุม (Control Desk) และแผงแสดงการทำงาน (Mimic Panel)
สถานีลูก (Slave Station) ตัวสถานีลูกจะประกอบด้วย
1.       PLC พร้อมหน่วยอินพุตเอาต์พุต
2.       อุปกรณ์ที่ต้องการควบคุม เช่น ระบบผลิตและสูบจ่ายน้ำประปา บานประตูระบายน้ำ อุปกรณ์วัดระดับน้ำ อุปกรณ์วัดปริมาณฝน

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 02, 2556

PLC


Programmable Logic Controller (PLC)
 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่อง PLC
2.1 ความหมายของ PLC
                โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Control : PLC) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที ตัวตรวจวัดหรือสวิทตช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน PLC นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อ PLC หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งาน PLC มีความยืดหยุ่นมากดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ PLC มากขึ้น
2.2  โปรแกรมเมเบิล ลอจิก คอนโทรลเลอร์ (PLC)
                PLC เป็นอุปกรณ์ชนิดโซลิด – สเตท (Solid State) ที่ทำงานแบบลอจิก (Logic Functions) การออกแบบการทำงานของ PLC จะคล้ายกับหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ จากหลักการพื้นฐานแล้ว PLCจะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Solid-State Digital Logic Elements เพื่อให้ทำงานและตัดสินใจแบบลอจิก PLC ใช้สำหรับควบคุมกระบวนการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม
                การใช้ PLC สำหรับควบคุมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีข้อได้เปรียบกว่าการใช้ระบบของรีเลย์ (Relay) ซึ่งจำเป็นจะต้องเดินสายไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Hard- Wiredฉะนั้นเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิต หรือลำดับการทำงานใหม่ ก็ต้องเดินสายไฟฟ้าใหม่ ซึ่งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ PLC  แล้ว การเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือลำดับการทำงานใหม่นั้นทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรมใหม่เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว PLC  ยังใช้ระบบโซลิด – สเตท ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าระบบเดิม การกินกระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และสะดวกกว่าเมื่อต้องการขยายขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร
2.3  โครงสร้างของ PLC
        PLC เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม PLC ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยรับข้อมูล หน่วยส่งข้อมูล และหน่วยป้อนโปรแกรม PLC ขนาดเล็กส่วนประกอบทั้งหมดของ PLC จะรวมกันเป็นเครื่องเดียว แต่ถ้าเป็นขนาดใหญ่สามารถแยกออกเป็นส่วนประกอบย่อยๆ ได้         หน่วยความจำของ PLC ประกอบด้วย หน่วยความจำชนิด RAM และ ROM หน่วยความจำชนิดRAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ส่วน ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC  ตามโปรแกรมของผู้ใช้ ROM ย่อมาจาก         Read Only Memory สามารถโปรแกรมได้แต่ลบไม่ได้ ถ้าชำรุดแล้วซ่อมไม่ได้
                1.  RAM (Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้ เพื่อใช้เลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและเขียนโปรแกรมลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก จึงเหมาะกับการใช้งานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมบ่อยๆ
                2.  EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิด EPROM นี้จะต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนโปรแกรม การลบโปรแกรมทำได้โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตหรือตากแดดร้อนๆ นานๆ มีข้อดีตรงที่โปรแกรมจะไม่สูญหายแม้ไฟดับ จึงเหมาะกับการใช้งานที่ไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรม
                3.  EEPROM (Electrical Erasable Programmable Read Only Memory) หน่วยความจำชนิดนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม โดยใช้วิธีการทางไฟฟ้าเหมือนกับ RAM นอกจากนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่สำรองไฟเมื่อไฟดับ ราคาจะแพงกว่า แต่จะรวมคุณสมบัติที่ดีของทั้ง RAMและ EPROM เอาไว้ด้วยกัน
รูปที่ 2.1 โครงสร้างของ PLC
2.4  ส่วนประกอบของ PLC
       
 PLC  แบ่งออกได้ ส่วนด้วยกันคือ                1.ส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง (Control Processing Unit : CPU)
                2.ส่วนที่เป็นอินพุต/เอาต์พุต (Input Output : I/O)
                3.ส่วนที่เป็นอุปกรณ์การโปรแกรม (Programming Device)
           2.4.1   CPU
           CPU เป็นส่วนมันสมองของระบบ ภายใน CPU จะประกอบไปด้วยวงจร Logic Gate ชนิดต่างๆ หลายชนิด และมี Microprocessor-based ใช้สำหรับแทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ (Relay) เคาน์เตอร์(Counter) ไทเมอร์ (Timer) และซีเควนเซอร์ (Sequencers) เพื่อให้ผู้ใช้ได้ออกแบบใช้วงจรรีเลย์แลดเดอร์ ลอจิก (Relay Ladder Logic) เข้าไปได้
รูปที่ 2.2 ส่วนประกอบของ CPU
             CPU จะยอมรับ (Read) อินพุต เดต้า (Input Data) จากอุปกรณ์ให้สัญญาณ (Sensing  Device)ต่างๆ จากนั้นจะปฏิบัติการและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ และส่งข้อมูลที่เหมาะสมถูกต้องไปยังอุปกรณ์ควบคุม (Control Device) แหล่งของกระแสไฟฟ้าตรง (DC  Current) สำรับใช้สร้างโวลต์ต่ำ (Low Level Voltage) ซึ่งใช้โดยโปรเซสเซอร์ (Processor) และไอโอ โมดูล (I/O Modules) และแหล่งจ่ายไฟนี้จะเก็บไว้ที่ CPU หรือแยกออกไปติดตั้งที่จุดอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย
             การประมวลผลของ CPU จากโปรแกรมทำได้โดยรับข้อมูลจากหน่วยอินพุทและเอาท์พุท และส่งข้อมูลสุดท้ายที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยเอาท์พุท เรียกว่า การสแกน (Scan) ซึ่งใช้เวลาจำนวนหนึ่ง เรียกว่า เวลาสแกน (Scan Time) เวลาในการสแกนแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 100 msec.(0.001-0.1วินาที) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความยาวของโปรแกรม หรือจำนวนอินพุท/เอาท์พุทหรือจำนวนอุปกรณ์ที่ต่อจาก PLC เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้เวลาในการสแกนยาวนานขึ้น การเริ่มต้นการสแกนเริ่มจากรับคำสั่งของสภาวะของอุปกรณ์จากหน่วยอินพุทมาเก็บไว้ในหน่วยความจำ (Memory) เสร็จแล้วจะทำการปฏิบัติการตามโปรแกรมที่เขียนไว้ทีละคำสั่งจากหน่วยความจำนั้นจนสิ้นสุด แล้วส่งไปที่หน่วยเอาท์พุท ซึ่งการสแกนของ PLC ประกอบด้วย
              1.  I/O Scan คือ การบันทึกสภาวะข้อมูลของอุปกรณ์ที่เป็นอินพุท และให้อุปกรณ์เอาท์พุททำงาน              2.  Program Scan คือ การให้โปรแกรมทำงานตามลำดับก่อนหลัง
                  2.4.2 ส่วนของอินพุตและเอาต์พุต (I/O Unit)
                        ส่วนของอินพุตและเอาต์พุต (I/O Unit) จะต่อร่วมกับชุดควบคุมเพื่อรับสภาวะและสัญญาณต่างๆ เช่น หน่วยอินพุตรับสัญญาณหรือสภาวะแล้วส่งไปยัง CPU เพื่อประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลแล้วจะส่งให้ส่วนของเอาต์พุต เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานตามที่โปรแกรมเอาไว้
                        สัญญาณอินพุตจากภายนอกที่เป็นสวิตช์และตัวตรวจจับชนิดต่างๆ จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น AC หรือ DC เพื่อส่งให้ CPU ดังนั้น สัญญาณเหล่านี้จึงต้องมีความถูกต้องไม่เช่นนั้นแล้ว CPU จะเสียหายได้
                        สัญญาณอินพุตที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติและหน้าที่ดังนี้                        1.  ทำให้สัญญาณเข้า ได้ระดับที่เหมาะสมกับ PLC
                        2.  การส่งสัญญาณระหว่างอินพุตกับ CPU จะติดต่อกันด้วยลำแสง ซึ่งอาศัยอุปกรณ์ประเภทโฟโตทรานซิสเตอร์เพื่อต้องการแยกสัญญาณ (Isolate) ทางไฟฟ้าให้ออกจากกัน เป็นการป้องกันไม่ให้CPU เสียหายเมื่ออินพุตเกิดลัดวงจร            
                        3.  หน้าสัมผัสจะต้องไม่สั่นสะเทือน (Contact Chattering)
        ในส่วนของเอาต์พุต จะทำหน้าที่รับค่าสภาวะที่ได้จากการประมวลผลของ CPU แล้วนำค่าเหล่านี้ไปควบคุมอุปกรณ์ทำงาน เช่น รีเลย์ โซลีนอยด์ หรือหลอดไฟ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ยังทำหน้าที่แยกสัญญาณของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ออกจากอุปกรณ์เอาต์พุต โดยปกติเอาต์พุตนี้จะมีความสามารถขับโหลดด้วยกระแสไฟฟ้าประมาณ 1-2 แอมแปร์ แต่ถ้าโหลดต้องการกระแสไฟฟ้ามากกว่านี้ จะต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ขับอื่นเพื่อขยายให้รับกระแสไฟฟ้ามากขึ้น เช่น รีเลย์หรือคอนแทคเตอร์ เป็นต้น    
           
อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสัญญาณอินพุท ได้แก่ พรอกซิมิตี้สวิตช์(Proximility Switch)  ลิมิตสวิตช์  (Limit Switch) ไทเมอร์(Timer) โฟโตอิเล็กืริกสวิตช์(Photoelectric Switch) เอนโค้ดเดอร์(Encoder)เคาน์เตอร์(Counter) เป็นต้น               อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสัญญาณเอาท์พุท ได้แก่ รีเลย์(Relay)  มอเตอร์ไฟฟ้า(Electric Motor) โซลินอยด์(Solenoid)  ขดลวดความร้อน(Heat Coil) หลอดไฟ(Lamp) เป็นต้น  
           1.43.เครื่องป้อนโปรแกรม (Programming Device)
          เครื่องป้อนโปรแกรม (Hand Held) ทำหน้าที่ ควบคุมโปรแกรมของผู้ใช้ลงในหน่วยความจำของPLC นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ PLC เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจการปฏิบัติงานของ PLCและผลการควบคุมเครื่องจักรและกระบวนการตามโปรแกรมควบคุมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นได้อีกด้วย          เครื่องป้อนโปรแกรม (Hand Held) แต่ละยี่ห้อจะไม่เหมือนกันแต่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่เหมือนกัน
2.5  การเรียกชื่ออุปกรณ์ควบคุม
                จะเรียกชื่อตัวควบคุมตัวนี้ว่า PLC หรือ PC ถูกต้องกว่า ?
                จากหลักการพื้นฐานแล้ว อุปกรณ์ควบคุมตัวนี้จะทำงานในลักษณะเลขฐานสอง คือ ปิด” หรือเปิด” “ON” หรือ “OFF” หรือสัญญาณลอจิก (Logic) เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นต่อไปอีกแล้วคือ สามารถรับและส่งสัญญาณอินพุต (Input) แบบต่อเนื่อง หรือสัญญาณอนาล็อก (Analog)ได้ ดังนั้นการเรียกชื่อว่า PLC จึงไม่น่าถูกต้อง ควรเรียกว่า PC ถึงจะถูกต้องกว่า (ตัว ในตัวย่อ PLC มาจากคำว่าLogic) อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของคำว่า PC ที่เป็นชื่อเรียกของ Personal Computer จึงยังคงเรียกเป็น PLC เช่นเดิม
2.6  คอมพิวเตอร์กับ PLC
                PLC เป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะประเภทหนึ่ง จึงมีโครงสร้างเหมือนคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อแตกต่างกันดังต่อไปนี้คือ                1.  PLC ถูกออกแบบให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ความร้อน ความหนาว ระบบไฟฟ้ารบกวน การสั่นสะเทือน การกระแทก                2.  การใช้โปรแกรมของ PLC จะไม่ยุ่งยากเหมือนของคอมพิวเตอร์ PLC จะมีระบบตรวจสอบตัวเอง ทำให้ใช้งานได้ง่ายและบำรุงรักษาง่าย                3.  PLC ทำงานตามที่โปรแกรมเอาไว้เพียงโปรแกรมเดียว ทำให้ไม่ยุ่งยาก ส่วนคอมพิวเตอร์จะทำงานที่โปรแกรมหลายๆ โปรแกรมพร้อมกัน จึงมีความยุ่งยากกว่า                4.  PLC  ใช้ควบคุมกระบวนการผลิตทุกชนิด ทั้งแบบอนาล็อก และแบบลอจิก (ON-OFF)
2.7      ความสามารถของ PLC
                
PLC สามารถควบคุมงานได้ ลักษณะคือ
                2.7.1.งานที่ทำตามลำดับก่อนหลัง (Sequence Control) ตัวอย่างเช่น
                        (1)  การทำงานของระบบรีเลย์                        (2)  การทำงานของไทเมอร์ เคาน์เตอร์                        (3)  การทำงานของ P.C.B. Card
                        (4)  การทำงานในระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ หรืองานที่เป็นกระบวนการทำงานของเครื่องจักรกลต่างๆ
                2.7.2.งานควบคุมสมัยใหม่ (Sophisticated Control) ตัวอย่างเช่น
                        (1)  การทำงานทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร                        (2)  การควบคุมแบบอนาล็อก (Analog Control) เช่น การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature)การควบคุมความดัน (Pressure) เป็นต้น                        (3)  การควบคุม P.I.D. (Proportional-Intergral-Derivation)
                        (4)  การควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ (Sevo-motor Control)
                        (5)  การควบคุม Stepper-motor
                        (6)  Information Handling
                2.7.3.การควบคุมเกี่ยวกับงานอำนวยการ (Supervisory Control) ตัวอย่างเช่น
                        (1)  งานสัญญาณเตือน (Alarm) และ Process Monitoring
                        (2)  Fault Diagnostic and Monitoring
                        (3)  งานต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ (RS-232C/RS422)
                        (4)  Printer/ASCII Interfacing
                        (5)  งานควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Automation Networking)
                        (6)  LAN (Local Area Network)
                        (7)  WAN (Wide Area Network)
                        (8)  FA. , FMS., CIM. เป็นต้น
2.8      ขนาดของ PLC
                1.     ขนาดเล็ก มีจำนวนอินพุต/เอาต์พุตไม่เกิน 128 จุด                2.     ขนาดกลาง มีจำนวนอินพุต/เอาต์พุตไม่เกิน 1024 จุด                3.     ขนาดใหญ่ มีจำนวนอินพุต/เอาต์พุตไม่เกิน 4096 จุด                4.     ขนาดใหญ่มาก มีจำนวนอินพุต/เอาต์พุต ไม่เกิน 8192 จุด
2.9      การติดตั้ง PLC
                2.9.1.ข้อควรพิจารณาก่อนติดตั้ง PLC
                        (1)  พื้นที่ในการติดตั้งมีเพียงพอหรือไม่                        (2)  จะต้องเผื่อไว้ขยายในอนาคตหรือไม่                        (3)  การซ่อมบำรุงต้องทำได้ง่าย                        (4)  อุณหภูมิที่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรมีผลกระทบกับ PLC หรือไม่                        (5)  วิธีการป้องกัน PLC จากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
                2.9.2.สภาพแวดล้อมหรือสถานที่ที่ไม่ควรติดตั้ง PLC
                        (1)  มีแสงแดดส่องโดยตรง                        (2)  มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0° C หรือสูงกว่า 55° C
                        
(3)  มีฝุ่น หรือไอเกลือ                        (4)  มีความชื้นมาก                        (5)  มีก๊าซที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน หรือไวไฟ                        (6)  สั่นสะเทือนมาก
2.10.ตู้ควบคุมสำหรับ PLC
                1.  ต้องป้องกันไม่ให้ PLC เสียหายจากการใช้งานหรือจากส่วนอื่นๆ เช่น จากสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งปนเปื้อนในอากาศ เช่น ความชื้น น้ำมัน ฝุ่นผง ก๊าซที่มีฤทธิ์การกัดกร่อน                2.  มีขนาดใหญ่เพียงพอ สะดวกในการเดินสายไฟต่างๆ                3.  ควรติดตั้งตู้ PLC ห่างจากแผงควบคุมไฟฟ้าแรงสูงอย่างน้อย นิ้ว                4.  มีสายดิน                5.  ควรแยกการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง                6.  ควรแยกการติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูง เช่น ฮีทเตอร์ หม้อแปลง หรือตัวต้านทานขนาดใหญ่                7.  ไม่ควรให้ PLC ติดตั้งอยู่บนเพดาน หรืออยู่กับพื้น                8.  ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า 60° C ควรติดพัดลมเป่าระบายความร้อน                9.  ควรต่อสายดินแยกออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวอื่น คือ สายดินควรมีขนาด ตารางมิลลิเมตร หรือใหญ่กว่า และค่าความต้านทานของสายดินไม่ควรเกิน 100 โอห์ม

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ


บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล 

งานในองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องมีข้อมูลของการทำงาน หรือข้อมูลทางธุรกิจในลักษณะต่าง ๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจมีทั้งข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้นข้อมูลขององค์การดังกล่าวยังอาจมีความสำคัญมากน้อยต่างกัน มีผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือทุกกลุ่มได้ตามความจำเป็นและตามลำดับชั้นความลับ สิ่งสำคัญคือ ข้อมูลขององค์การหนึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกันและควรที่จะนำมารวมไว้ใน “ฐานข้อมูล” (Database)
 ความหมาย
        มีคำอธิบายความหมายของ “ฐานข้อมูล” อยู่มากมายหลายคามหมาย ตัวอย่างเช่น
        ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น  เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
        ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง (A database is a collection of persistent data that is used by the application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล เช่น
           กิจการ                                                                               ข้อมูลคงทน
บริษัทผู้ผลิตสินค้า                                                                   ข้อมูลผลิตภัณฑ์
ธนาคาร                                                                                   ข้อมูลบัญชี
โรงพยาบาล                                                                            ข้อมูลผู้ป่วย
มหาวิทยาลับ                                                                           ข้อมูลนักศึกษา
หน่วยราชการ                                                                          ข้อมูลการวางแผน





เอ็นทิตี้ 
        คำว่า “เอ็นทิตี้” (Entity) หมายถึง วัตถุใด ๆ ที่เราสามารถระบุ หรือแยกแยะออกจากกันได้ ซึ่งแทนอยู่ในฐานข้อมูล (An entity is any distinguishable object that is to be represented in the database.)
สัมพันธภาพ 
        คำว่า “สัมพันธภาพ” (Relationship) บางที่เรียกว่า “ความสัมพันธ์” หมายถึง การเชื่อมโยงหรือความเกี่ยวข้องระหว่างเอ็นทิตี้ต่าง ๆ ซึ่งความสัมพันธภาพเป็นตัวเชื่อมโยงเอ็นทิตี้เหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน (Relationship links those basic entities together.)
รูปแบบของฐานข้อมูล 
        รูปแบบของฐานข้อมูล ในที่นี้หมายถึง ตัวแบบข้อมูล (Data Model) ของฐานข้อมูลชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีผู้รู้คิดค้นขึ้นมา
        ก่อนอื่นเราควรต้องทราบความหมายของคำว่า “ข้อมูล” ก่อน
        ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ให้มา ซึ่งสามารถอนุมานข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นมาได้ (“Data” refers to given facts from which additional facts can be inferred.)
         ข้อเท็จจริงที่ให้มา คือ ประพจน์ที่เป็นจริงเชิงตรรกศาสตร์ (“Given fact” is a logically true proposition.) ดังนั้น ความหมายฐานข้อมูลในมุมมองนี้ ก็คือ ชุดของประพจน์ที่เป็นจริงดังกล่าว (A database is a collection of such true propositions.)
        ตัวแบบข้อมูล เป็นคำจำกัดความเชิงตรรกะ เป็นนามธรรม บริบูรณ์ในตัวเอง ของวัตถุ ตัวกระทำทางคณิตศาสตร์ และ ฯลฯ ซึ่งรวมกันแล้วประกอบเข้าเป็นเครื่องจักรนามธรรมที่ผู้ใช้โต้ตอบได้ วัตถุดังกล่าวทำให้เราสามารถจำลองโครงสร้างข้อมูลได้ ส่วนตัวกระทำทางคณิตศาสตร์ทำให้เราสามารถจำลองพฤติกรรมของมันได้ (Data Model is an abstrach, self –contained, logical definition of the objects, operators, and so forth, that together constitute the abstract machine with which users interact. The objects allow us to model the structure of data. The operators allow us to model its behaviour.)
        ตัวแบบข้อมูล เป็นเหมือนภาษาในการเขียนโปรแกรม แม้ว่าค่อนข้างจะเป็นนามธรรม แต่โครงสร้างของมันสามารถใช้แก้ปัญหาได้ (Data Model is like a programming language-albeit one that is somewhat abstract – whose constructs con be used to solve problems.)

ตัวแบบข้อมูลมี 3 ประเภทที่สำคัญ คือ
  • ตัวแบบเชิงสัมพันธ์ (Relational Model)
  • ตัวแบบเครือข่าย (Network Model)
  • ตัวแบบลำดับชั้น หรือแตกสาขา(Hierarchic Model)
        1. ตัวแบบเชิงสัมพันธ์ (จะกล่าวถึงละเอียดในบทต่อไป) ผู้ใช้ทั่วไปจะมองเห็นตัวแบบเชิงสัมพันธ์ว่า คือ การเก็บข้อมูลเป็นตาราง (Table) หรือถ้าเรียกอย่างเป็นทางการตามทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ก็คือ รีเลชั่น (Relation) นั่นเอง ลักษณะของตารางจะมี 2 มิติ คือ แถว (Row) และคอลัมน์ (Column)โดยเอ็นทิตี้ (Entity) ต่าง ๆ จะมีข้อมูลถูกนำมาจัดเก็บในลักษณะเป็นตาราง กล่าวคือ จะไม่มีแฟ้มข้อมูลแม่หรือแฟ้มข้อมูลลูก แฟ้มข้อมูลแต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ระบบบริหารฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เรียงตามลำดับอักษร ได้แก่
        DB2 (มีหลายรุ่น) ของบริษัท IBM Corp.
        Ingres II ของบริษัท Computer Associates International Inc.
        Informix Dynamic Server ของบริษัท Informix Software Inc.        
        Microsoft SQL Server ของบริษัท Microsoft Corp.            
        Oracle 8i ของบริษัท Oracle Corp.และ
        Sybase Adaptive Server ของบริษัท Sybase Inc.
        2.  ตัวแบบเครือข่าย บางที่เรียกว่า CODASYL Systems หรือ DBTG Systems ตามชื่อคณะทำงานที่เสนอแนะ กล่าวคือ กลุ่มงานฐานข้อมูลแห่งการประชุมว่าด้วยเรื่องภาษาระบบฐานข้อมูล(the Data Base Task Group of the conference on Data Systems Languages) ตัวอย่างเช่น ระบบ IDMS ของบริษัท Computer Associates International Inc. ตัวแบบเครือข่ายนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) แต่อย่างใด โดยตัวแบบนี้ในแง่การมองของผู้ใช้จะเป็นไปในรูปของการรวบรวม ระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างตัวแบบเชิงสัมพันธ์และแบบเครือข่าย คือ ในตัวแบบเชิงสัมพันธ์จะแฝง (Implicit) การแสดงความสัมพันธ์เอาไว้ (หมายความว่า ระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในเขตข้อมูลใด เขตข้อมูลหนึ่งเหมือนกัน) ส่วนการแสดงความสัมพันธ์ในตัวแบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างโจ่งแจ้ง (Explicit) คือ แสดงได้ในโครงสร้างอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น